“อ่านอย่างไรให้เกิน 8 บรรทัด” การสร้างวัฒนธรรมการอ่านแบบญี่ปุ่น

เราคงคุ้นเคยกับคำล้อเลียนที่ติดหู ที่ว่า “คนไทยอ่านหนังสือไม่เกินแปดบรรทัด” ซึ่งคำล้อเลียนดังกล่าวก็มาจากผลสำรวจที่ระบุว่า คนไทยอ่านหนังสือเฉลี่ยไม่เกิน 8 บรรทัดต่อปี นั่นหมายถึงว่าเป็นเรื่องตลกร้ายที่เราอาจจะคิดว่าล้อกันขำ ๆ แต่ความเป็นจริงแล้วน่าเป็นกังวลอย่างมาก เนื่องจากการอ่านถือเป็นทักษะที่สำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะสำหรับเด็กและเยาวชนไทย ซึ่งหากเปรียบเทียบกับญี่ปุ่นแล้วก็จะเห็นความแตกต่างในเรื่องสถิติการอ่านหนังสือกันได้ชัดเจนมาก เพราะคนญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับการอ่าน และสร้างวัฒนธรรมการอ่านให้กับเด็ก ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่น่าสนใจที่เราจะนำมาเป็นแนวทางว่า การสร้างวัฒนธรรมการอ่านแบบญี่ปุ่นนั้น เป็นอย่างไร การสร้างวัฒนธรรมธรรมการอ่านในประเทศญี่ปุ่น                 ญี่ปุ่นถือเป็นอีกประเทศหนึ่งในเอเชีย ที่ประชาชนส่วนใหญ่ชื่นชอบและหลงใหล การอ่านหนังสือมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังสือการ์ตูน ที่เราจะพบในรูปแบบของอนิเมะ ไปจนถึงหนังสือประเภทต่าง ๆ ซึ่งส่วนที่สำคัญก็มาจากการที่ญี่ปุ่นนั้นได้สร้างวัฒนธรรมการอ่านที่หยั่งลึก จนกลายเป็นนิสัยรักการอ่านตั้งแต่เด็กจนโต ซึ่งทุกฝ่ายต่างให้ความสำคัญในเรื่องการอ่านอย่างมาก…

วัฒนธรรมการ “ขอโทษ” ของคนญี่ปุ่นนั้นสำคัญไฉน

                การขอโทษเป็นสิ่งที่ต้องทำเมื่อรู้ว่าตนทำผิด เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อความรู้สึกของผู้เสียหายและเป็นการแสดงออกถึงความสำนึกในการทำผิดของตน ญี่ปุ่นเป็นชาติที่เรามักจะเห็นอยู่บ่อยครั้งในเรื่องของการออกมาขอโทษต่อสาธารณชน ถึงแม้ว่าบางเรื่องนั้นจะดูเป็นเรื่องเล็กน้อยก็ตาม การแสดงออกเช่นนี้ทำให้ผู้กระทำผิดสามารถใช้ชีวิตต่อไปในสังคมได้อย่างสบายใจและไม่รู้สึกติดค้าง แถลงการณ์ขอโทษของบริษัทใหญ่ในญี่ปุ่น                 หลายครั้งที่บริษัทต่าง ๆ ในญี่ปุ่นจัดแถลงการณ์ใหญ่โต แต่มิได้เพื่อการประชาสัมพันธ์ทางธุรกิจแต่อย่างใด ทั้งหมดนั้นก็เพื่อการขอโทษและแสดงความสำนึกผิดต่อหน้าประชาชน ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ล่าสุดในเดือนมิถุนายน 2018 ที่ผ่านมา การประปาของเมืองโกเบได้ออกมาแถลงข่าวขอโทษต่อประชาชน เนื่องจากพนักงานวัย 64 ปี ได้ใช้เวลา 3…