ย้อนอดีตคดีกรุงไทยปล่อยกู้ให้กฤษดานคร

ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 2549 เหตุผลหนึ่งที่คณะคมช.เข้ามายึดอำนาจรัฐบาลคุณทักษิณ ชินวัตร ก็เพราะพบว่ามีการทุจริตไม่โปร่งใสในเรื่องของการอนุมัติปล่อยเงินกู้ของธนาคารกรุงไทยให้กับบริษัทกฤษดามหานคร ซึ่งเรื่องราวเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2546 ซึ่งในตอนนั้นหลาย ๆ ฝ่ายมองว่าเรื่องนี้ทำให้เกิดความเสียหายกับรัฐและประเทศ จึงมีการยึดอำนาจรัฐบาลโดยทหารและมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนในเรื่องนี้ขึ้น

และเมื่อเรื่องดำเนินไปถึงศาลก็มีการตั้งข้อหากับพรรคไทยรักไทย รวมถึงทางด้านนายวิโรจน์ นวลแข อดีตกรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงไทยและผู้มีอำนาจในบริษัทในเครือกฤษดานคร และมีการดำเนินคดีทางกฎหมายอาญาฐานเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา157 มีจำเลยในคดีนี้ถึง 27 ราย มาจนถึงปัจจุบันนี้คดีก็ยังไม่จบสิ้น และจากการตรวจสอบเพิ่มเติมก็มีทีท่าว่าจะพบความผิดใหม่เพิ่มเติมขึ้นอีกด้วย นี่จึงเป็นคดีทุจริตใหญ่ที่เรียกว่ายาวนานมากคดีหนึ่งในประวัติศาสตร์ ซึ่งยาวนานจนหลาย ๆ คนลืมเลือนกันไปแล้ว

ย้อนภูมิหลังก่อนเกิดคดี

ก่อนที่จะมาถึงคดีความที่ยืดเยื้อนี้ทางกลุ่มบริษัทกฤษดามหานคร ณ ขณะนั้น มีสถานะที่ไม่ค่อยน่าเชื่อถือแล้ว เรียกว่าแม้จะเป็นบริษัทใหญ่แต่เครดิตไม่ดี เป็นกลุ่มบริษัทที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดหนี้เสียต่อทางธนาคาร หลาย ๆ สถาบันการเงินจึงไม่ปล่อยกู้สินเชื่อ แต่สุดท้ายก็มีการอนุมัติสินเชื่อจากผู้บริหารธนาคารกรุงไทย โดยมีการอนุมัติสินเชื่อให้กับกลุ่มบริษัทกฤษดามหานคร ใน 3 ส่วน คือ บริษัท อาร์เค โปรเฟสชั่นนัล จำกัด ได้รับการอนุมัติสินเชื่อ ในวงเงินสูงถึง 500 ล้านบาท   บริษัทโกลเด้น เทคโนโลยี อินดัสเทรียล พาร์ค ได้รับการอนุมัติสินเชื่อ 9,900 ล้านบาท และสุดท้ายมีการอนุมัติในเรื่องของการขายหุ้นบริษัทกฤษดามหานครให้กับบริษัทคู่ค้า เมื่อเกิดการยักย้ายถ่ายโอนอนุมัติวงเงินสูงเช่นนี้ จึงทำให้มีคำถามตามมามากมาย และในที่สุดก็เป็นเหตุผลให้หลายฝ่ายมองว่าตรงส่วนนี้เป็นพิรุธและน่าจะเป็นเรื่องของการทุจริตแน่นอน เมื่อคมช.มีการยึดอำนาจเมื่อปี 49 เรียบร้อย จึงนำไปสู่การตรวจสอบสอบในเรื่องนี้โดย ป.ป.ช. ร่วมกับสำนักงานอัยการสูงสุด ได้มีความเห็นชอบร่วมกันว่าควรมีการส่งฟ้องเรื่องนี้ไปที่ ศาลฎีกา คดีก็ดำเนินมาเรื่อยจนมาถึงปัจจุบัน ซึ่งคดีถือว่ายังไม่มีความคืบหน้ามาก แต่ด้วยอายุความเหลืออีกเพียง 1 ปี เท่านั้นในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2560 ที่ผ่านมาดีเอสไอจึงมีการยกเรื่องนี้ขึ้นมาวินิจฉัยอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะได้เรื่องและความคืบหน้าอย่างไรก็คงจะต้องติดตามกันต่อไป